เผยแพร่ผลงานวิจัย

เผยแพร่ผลงานทางวิชากา

****************************************************

ชื่อเรื่อง    :  รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
ผู้รายงาน :  นายสวานิตย์  ศิริบูรณ์   ตำแหน่งผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ 
                  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม  สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 
                   องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  
                    กระทรวงมหาดไทย
ปีที่รายงาน  2562






-----------------------------------------------



ชื่อเรื่อง    :  การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนเวียงสะอาด                              พิทยาคม โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST
ผู้รายงาน :  นายสวานิตย์  ศิริบูรณ์   ตำแหน่งผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ 
                  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม  สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 
                   องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  
                    กระทรวงมหาดไทย
ปีที่รายงาน  2562




-----------------------------------


ชื่อเรื่อง    :  การพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระทัศนศิล์ 
                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
ผู้รายงาน :  นางสาวศรัญญา  พานุราช  ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ 
                  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม  สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 
                   องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  
                    กระทรวงมหาดไทย
ปีที่รายงาน :  2562
ดาวน์โหลด  คลิกเลย

---------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อเรื่อง  :  การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้หนังสือส่งเสริมการ
                   อ่านชุดเล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม  สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่  ๒
ผู้รายงาน  :  นางสาวจิตนา  ประเมทะโก  ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
           โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม  สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 
                    องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  
                    กระทรวงมหาดไทย

ปีที่รายงาน :  2562
ดาวน์โหลด  คลิกเลย
---------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อเรื่อง :  การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา  ดนตรี-นาฏศิลป์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย :  พิภพ คชอาจ ปริญญา คบ. (ดนตรีศึกษา)
ดาวน์โหลด  คลิกเลย
---------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อเรื่อง     :   รายงานการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการทำแผนผัง
                    ความคิดโดยใช้แบบฝึก  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

วิจัย          :   นางสาวกันญา  สิงห์สุขา

ตำแหน่ง  :   ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม 

                    อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม  สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนา

                    และวัฒนธรรม  องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  กระทรวงมหาดไทย



ปีที่พิมพ์    :   2562
ดาวน์โหลด  คลิกเลย

---------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อเรื่อง  :    ชุดฝึกกิจกรรมการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองดี  สาระหน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม
                      และการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและ
                      วัฒนธรรม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 

ชื่อผู้วิจัย  :    นางธนภร  โพธิกุล
ตำแหน่ง   :    ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ   โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม  
                      อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  สังกัดกองค์การศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  
                      องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  กระทรวงมหาดไทย

ปีที่พิมพ์  :    2562
ดาวน์โหลด คลิกเลย
---------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง       :  การประเมิน  โครงการพัฒนาทักษะเพื่อความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์
                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม  โดยใช้รูปแบบซิป  (CIPP Model)
ผู้วิจัย         นางสุดชดาวรรณ  จำปาทอง
หน่วยงาน    โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ดาวน์โหลด คลิกเลย
---------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง       :  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์สาหรับ 
                     นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม 
                     สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวังมหาสารคาม      
ผู้วิจัย          :  สุดชดาวรรณ จำปาทอง 
หน่วยงาน    :  โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ดาวน์โหลด คลิกเลย
--------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง                   การพัฒนารูปแบบการบริหารงานทางวิชาการโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
                             ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผู้วิจัย                      สวานิตย์  ศิริบูรณ์
สถานที่                   โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
ปีที่วิจัย                   2560
---------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง                  การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม  ของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
ผู้วิจัย                     สวานิตย์  ศิริบูรณ์
สถานที่                  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม  ตำบลเวียงสะอาด  อำเภอพยัคภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย                  2560
---------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อผลงาน             แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                           กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด การรู้เรื่องการอ่านตามแนว PISA
จัดทำโดย              นางสาวกิรณา  ชินวรรณ
                           กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม

                           อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
ดาวน์โหลด แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ คลิกเลย
---------------------------------------------------------------------------------------

เผยแพรงานวิจัย

**************************************************************************************************

1.ชื่อเรื่อง  การพัฒนาครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม 
                สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ผู้ศึกษา     นางสาวจิตนภา  ไชยเทพา
ปีที่ศึกษา  2559

บทคัดย่อ
การพัฒนาครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ให้มีความรู้ทักษะตามกรอบการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) มีความรู้ทักษะเกี่ยวกับการจัดแผนทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) 2) สามารถจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) 3) สามารถนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ได้โดยใช้หลักการวิจัยการปฏิบัติ (Action Research Principle) ซึ่งดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย (Narrative Form)
สภาพปัจจุบันการดำเนินงานและปัญหาในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม คือ ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ทั้งที่มีวุฒิและไม่มีวุฒิทางลูกเสือ ส่วนใหญ่ขาดความรู้ทักษะในการจัดทำและนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ ซึ่งเมื่อดำเนินการพัฒนาโดยใช้กลยุทธ์การอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) และกลยุทธ์การนิเทศการจัดทำและนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ผลการดำเนินการพัฒนาวงรอบที่ 1 กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ทักษะเกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ได้จำนวน 18 แผน ซึ่งประกอบด้วย 1) ความเข้าใจเรื่องราวของกิจกรรมลูกเสือ 2) ระเบียบแถวของลูกเสือ 3) คำปฏิญาณกฎของลูกเสือ 4) เงื่อนและประโยชน์ของเงื่อนและสามารถนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ แต่กลุ่มเป้าหมายยังมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเกม / เพลงที่ยังจัดกิจกรรมได้ไม่ดีเท่าที่ควร กลุ่มเป้าหมายจึงประชุมร่วมกัน เพื่อทำแผนการจัดทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์นิเทศการจัดทำและนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ซึ่งผลการนิเทศ กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ สามารถจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ได้ โดยการเพิ่มเติมความเร้าใจที่กิจกรรมเกม / เพลง และสามารถจัดกิจกรรมเกม / เพลงได้ดียิ่งขึ้น
ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การดำเนินการพัฒนาครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ)  โดยใช้กลยุทธ์การอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม



2. ชื่อเรื่อง   การพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 
                  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้วิจัย      นางสาวจิตนภา  ไชยเทพา
ปีที่วิจัย    2560

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคมและเพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  โดยดำเนินการพัฒนา 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นขั้นตอนการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม และศึกษาความต้องการในการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ระยะที่ 2 การพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการพัฒนาความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และผู้สอนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ ครูผู้สอน จำนวน 33 คน โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560 วิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่า t-test และโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูล 
ผลการวิจัย  พบว่า 
1.สภาพปัจจุบันปัญหาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนพบว่า 1) ด้านองค์ความรู้ความเข้าใจของครูโรงเรียนจัดอบรมครูให้มีความรู้ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แต่ครูเห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาสู่การปฏิบัติจริงได้ 2) ด้านเวลาสำหรับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนครูดำเนินการทำนอกเวลาการเรียนการสอนตามแผนมีงานประจำในหน้าที่มาก 3) ด้านเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์สำหรับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีการอำนวยความสะดวกในการสร้างสื่อให้บริการด้านการพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แต่เอกสาร ตำรา วารสาร งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนยังไม่เพียงพอ และ 4) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้บริหารมีการให้เงินทุนในการเข้าประชุม อบรมสัมมนา ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลซึ่งกันและกัน แต่ขาดการนิเทศติดตามเป็นระบบ
2. ความต้องการในการพัฒนา พบว่า ครูเคยผ่านการอบรมวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทุกคน แต่ไม่สามารถนำความรู้มาสู่การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้ จึงทำให้ครูมีความต้องการเข้ารับการพัฒนาทุกคน เนื้อหาต้องการคือ ความรู้ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยเฉพาะการเขียนรายงานการวิจัย และการประเมินผลการแก้ปัญหา การฝึกอบรมควรเป็นการฝึกปฏิบัติมีรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ เวลาควรอยู่ระหว่าง 3 วัน และควรมีผู้รู้ให้การนิเทศติดตามเป็นระยะ
3. ผลพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ พบว่า ครูผู้สอนที่ผ่านการพัฒนาสามารถทำการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้เสร็จครบทุกกระบวนการ คิดเป็นร้อยละ 100 และคุณภาพของรายงานการทำการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 45.45  

3.งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ที่เคยเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรหรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต “การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5” มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พ.ศ.2552

4. ผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับอนุมัติเพื่อกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น เรื่อง “รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะลูกเสือ กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เครื่องหมายลูกเสือโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม"

                                                  

**************************************************************************************************

ชื่อเรื่อง             รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ
                       ในการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
                      เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ
                      ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 
ผู้ศึกษาค้นคว้า      นางสาวมะลิ  เทศธรรม        
ชื่อสถาบันที่สังกัด  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์              2557        

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  (2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  (3)  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  (1)  แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 6  แผน  มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด  (4.76,  S.D. = 0.08) (2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือก จำนวน  30  ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่น  เท่ากับ  .87  (3)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  มีค่าความเชื่อมั่น  เท่ากับ  .89  และ  (4)  แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีค่าความเชื่อมั่น  เท่ากับ  .91  วิเคราะห์ผลโดยใช้  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   และ การทดสอบทีแบบกลุ่มสัมพันธ์  (Dependent  Samples  t-test)

ผลการวิจัยพบว่า
         1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพ (E1/E2เท่ากับ 86.43/85.52  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ที่มีต่อการเรียน ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23

********************************************************************************************

ชื่อเรื่อง        การศึกษาและการพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย
                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน       นางปราณี  บุญจิ่ม
ปีที่รายงาน   2561
หน่วยงาน     โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม  องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
                   การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดการสอนเรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของชุดการสอนเรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของการหาประสิทธิภาพของชุดการสอนเรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ และ4) หาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้                 ด้วยชุดการสอนเรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียน               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1          ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม  อำเภอบรบือ  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ ในการรายงานประกอบด้วย  1)ชุดการสอนเรื่อง  การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย  จำนวน 5  ชุด                 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.80          ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84  3)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของการหาประสิทธิภาพของชุดการสอน และ4)แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานแบบ สถิติ   t - test (Dependent Samples) การหาค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดการสอนเรื่อง  การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียน    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 84.14/84.06  ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  80/80
2. การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแล้ว หาค่าดัชนีประสิทธิผล  จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของการหาค่าประสิทธิผล    ของชุดการสอน เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีค่าเท่ากับ  0.5463  หมายความว่า ผู้เรียนเมื่อเรียนรู้ด้วยการหาค่าประสิทธิผลของ           ชุดการสอน เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ  54.63
3. คะแนนประเมินผลหลังการเรียนด้วยการใช้ชุดการสอน เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีความแตกต่างกับคะแนนประเมินผล          การเรียนก่อนเรียนด้วยการใช้ชุดการสอน เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 33.63  สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 23.69  นั่นคือ  การจัดการเรียนการสอนวิชา ศิลปะพื้นฐาน 1
ศ 21103  เรื่อง  การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ที่มีการหาประสิทธิภาพของชุดการสอนเรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียน              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มาประกอบการจัดการเรียนรู้ จึงส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอน เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โดยรวมอยู่ในระดับมาก(  4.49, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า  ข้อที่มีค่าเฉลี่ย  3  อันดับแรก  คือ  เรื่องที่เรียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน(  4.75, S.D. = 0.45)  รองลงมาคือ การเรียนรู้ทีละน้อยทำให้เข้าใจได้ดีและไม่เบื่อหน่าย(  4.69, S.D. = 0.48)  และได้ฝึกทักษะด้านการปฏิบัติได้อย่างมั่นใจ (  4.63 , S.D. = 0.50) 



Research Title:    The Study and the Development of Instructional
Packages on Playing of Thai Musical Instruments for 7th
Grade Students, Department of Art
Author:                Pranee Bhunjim   
Place of Work:    Nong Ko Wicha Prasit Phitthayakhom School
Academic Year:   2018

Abstract

The aims of this study were (1) examine the efficiency of instructional packages on playing of Thai musical instruments for 7th grade students to meet the 80/80 criterion, (2) to examine the effectiveness index of doing pretest and posttest of instructional packages on playing of Thai musical instruments for 7th grade, (3) to compare between students learning achievement for their previous and later learning through instructional packages on playing of Thai musical instruments for 7th grade, and (4) to assess satisfactions of students after studying through instructional packages on playing of Thai musical instruments for 7th grade. The sample consisted of 16 7th students at Nong Ko Wicha Prasit Phitthayakhom School in the 1st semester of 2017 academic year which selected by cluster random sampling. The instruments were 5 Instructional Packages on playing of Thai musical instruments, 40 items of an achievement test, the result of pretest and posttest and 18 items of the satisfaction questionnaire. The statistics used were percentage, mean, standard deviation and the t-test for dependent samples.



Results of the research were as follows:
1. The instructional packages on playing of Thai musical instruments for 7th grade students met the efficient criterion of 84.13/84.06, which is higher than the criterion set.
2. The effectiveness index was 0.5463, indicated that the students were able to improve their learning at 54.63% after learning by using instructional packages on playing of Thai musical instruments for 7th grade students.
3. The posttest scores of the students were significantly higher than pretest scores of the students at the .05 level statistical significance. The mean score of posttest () was 33.63 and the mean score of pretest () was 23.69. That means the instructional packages on playing of Thai musical instruments for 7th grade students helped students to have higher achievement.
4. The students were satisfied in learning by using instructional packages on playing of Thai musical instruments for 7th grade students. The mean score of satisfied questionnaire was in strongly agrees; mean score () was 4.49 and the standard deviation (S.D.) was 0.52. The 3 questions that all students gave their opinion in strongly points were the lesson is related to daily life ( = 4.75, S.D. = 0.45), studying in a small content is easy to understand and not boring ( = 4.69, S.D. = 0.48) and making a confident when practicing how to play the instruments ( = 4.63, S.D. = 0.50).

********************************************************************************************

ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติประกอบแบบฝึกทักษะ
                         เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียน
                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม
ผู้รายงาน        นางปราณี  บุญจิ่ม
พุทธศักราช   2561

บทคัดย่อ
                   การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  ปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา    ปีที่ 5  4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน       1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 18 คนเครื่องมือที่ใช้ คือ  1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติ  2) แบบฝึกทักษะรายวิชาศิลปะ ศ 32101 เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  3 ) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานแบบ สถิติ   t - test (Dependent Samples) และการหาค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการรายงานปรากฏ ดังนี้
                   1. ประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสำหรับนักเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 84.38/83.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
                   2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6934 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้   เพราะ   มีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.34
                   3. คะแนนประเมินผลหลังการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค การปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีความแตกต่างกับคะแนนประเมินผลก่อนการใช้ฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 8.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ 1.26 แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค การปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 16.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)เท่ากับ 0.78 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอน รายวิชา ศิลปะ ศ 32101 เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการนำแบบฝึกทักษะรายวิชา ศิลปะ 3       ศ 32101 มาประกอบการจัดการเรียนรู้  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนรายวิชา ศิลปะ 3 ศ 32101 เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
                   4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมทั้ง ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50  ที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการปฏิบัติ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนในรายวิชาศิลปะ 3           ศ 32101 สูงขึ้น


********************************************************************************************



ชื่อเรื่อง           รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 
                     ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 
                     จังหวัดมหาสารคาม  องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ผู้วิจัย             นางสาวกุสุมา  ตะวัน
ตำแหน่ง          ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการ  โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม  องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์          2561


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1)  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 70/70   (2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ระหว่างก่อนการใช้และหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  (3)  เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4)  เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม  องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามจำนวน  26  คน ซึ่งได้มาการโดยสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากโดยมีหน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 4 ชนิด ได้แก่แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน  6  เล่ม ที่มีความเหมาะสมมาก  ()  4.37  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เป็นปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ  4  ตัวเลือก  ที่มีค่าความยาก  (P)  ระหว่าง  0.23-0.51 ค่าอำนาจจำแนก  ( B )  ระหว่าง 0.23  ถึง  0.58  จำนวน  40  ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่น  ( rcc)  ทั้งฉบับเท่ากับ  0.82  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน มีค่าอำนาจจำแนก  ระหว่าง  1.80-3.92  และความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ  0.90  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ร้อยละ  (Percentage)  ค่าเฉลี่ย  (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)  และการทดสอบสมมติฐานใช้  t-test  (Dependent  Samples)  ผลการวิจัยปรากฏดังนี้  (1)  แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีประสิทธิภาพ  84.86/ 82.39  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้   (2)  นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3)  ดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7099    แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้หลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.99  ซึ่งสูงกว่าร้อยละ  50  ตั้งไว้  (4)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย  4.59)

1 ความคิดเห็น:

  1. ชื่อเรื่อง การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ร่างกายมนุษย์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร
    การเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
    ผู้วิจัย จารุวรรณ กึกก้อง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
    สถานศึกษา โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
    สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
    ปีที่วิจัย 2562

    ตอบลบ